ไม่ต้องเสียเวลารอคิวต่ออายุใบขับขี่อีกต่อไป ตอนนี้สามารถจองคิวออนไลน์ได้แล้ว สำหรับใครที่กำลังมีแผนไปต่อใบขับขี่ บทความนี้จะแนะนำความรู้เกี่ยวกับใบขับขี่ที่คนขับรถควรรู้และ วิธีจองคิวต่อใบขับขี่ออนไลน์
ประเทศไทยมีการแบ่งใบขับขี่ออกเป็นหลายประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีวัตถุประสงค์ และระยะเวลาในการใช้งานที่แตกต่างกัน สามารถแบ่งออกเป็นสองหมวดใหญ่คือ “ใบขับขี่ส่วนบุคคล” และ “ใบขับขี่สาธารณะ”
สำหรับใบขับขี่ส่วนบุคคลจะใช้สำหรับการขับขี่รถเพื่อส่วนตัวเท่านั้น โดยผู้ที่เริ่มต้นขับรถส่วนใหญ่จะเริ่มจากใบขับขี่ชั่วคราว ซึ่งจะมีอายุการใช้งาน 2 ปี หลังจากนั้นสามารถยื่นเรื่องขอเปลี่ยนเป็นใบขับขี่ส่วนบุคคลแบบ 5 ปีได้เมื่อครบกำหนด โดยไม่จำเป็นต้อบสอบใบขับขี่ใหม่ หากไม่มีการขาดการต่อใบขับขี่เกินระยะเวลาที่กำหนด
ส่วนใบขับขี่สาธารณะ เช่น ใบขับขี่รถแท็กซี่ รถตู้ หรือรถบรรทุก ที่ใช้เพื่อการประกอบอาชีพ จะมีอายุการใช้งาน 3 ปี และมีข้อกำหนดเพิ่มเติมในเรื่องของสุขภาพ และการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมก่อนต่ออายุใบขับขี่
กรณีใบขับขี่หมดอายุ แต่ยังไม่ขาดอายุ คือ ใบขับขี่ที่หมดอายุแล้ว แต่ยังไม่เกิน 1 ปี เช่น ใบขับขี่หมดอายุวันที่ 1 มีนาคม 2568 หากคุณไปต่ออายุภายในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2569 จะถือว่า “หมดอายุ แต่ยังไม่ขาดอายุ” ผู้ขับขี่สามารถทำการต่ออายุได้เลยโดยไม่ต้องสอบใหม่ เพียงแค่ต้องการผ่านการอบรมตามข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งการอบรมนี้สามารถทำผ่านระบบออนไลน์ได้แล้วผ่านเว็บไซต์ e-learning ของกรมขนส่งที่ www.dlt-elearning.com ซึ่งช่วยประหยัดเวลาและความยุ่งยากไปได้มาก
แต่หากใบขับขี่หมดอายุมาเกิน 1 ปี เช่น ใบขับขี่หมดอายุวันที่ 1 มีนาคม 2568 แล้วคุณมาต่อใบขับขี่วันที่ 10 เมษายน 2569 กรณีนี้ถือว่า “ขาดอายุ” เพราะเกิน 1 ปี ผู้ขับขี่จะต้องเข้ารับการอบรมที่สำนักงานขนส่ง และในบางกรณีอาจจะต้องสอบข้อเขียนใหม่ แต่หากหมดอายุมาเกิน 3 ปี จะต้องสอบข้อเขียนใหม่ทั้งหมด รวมถึงการสอบปฏิบัติขับรถอีกด้วย ซึ่งเท่ากับว่าเริ่มต้นใหม่เหมือนการออกใบขับขี่ครั้งแรกเลยทีเดียว
ปัจจุบันการจองคิวต่อใบขับขี่สามารถทำผ่านระบบออนไลน์ได้แล้ว โดยช่องทางหลักคือแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue และเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งทั้งสองช่องทางนี้จะมีระบบการจองคิวที่สะดวกและใช้งานง่าย เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน คุณก็สามารถเลือก วัน เวลา และสำนักงานขนส่งที่สะดวกได้ด้วยตัวเอง แอปพลิเคชัน DLT Smart Queue สามารถดาวน์โหลดฟรีได้ทั้งในระบบ Android ผ่าน Google Play Store และในระบบ iOS ผ่าน App Store หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ DLT Smart Queue ที่ www.gecc.dlt.go.th
ขั้นตอนการจองคิว
เมื่อถึงวันที่นัดหมาย ผู้ขับขี่ควรเตรียมตัวให้พร้อมทั้งในด้านเอกสารและเวลา เอกสารที่ต้องนำไปด้วย ได้แก่
หากได้รับการอบรมล่วงหน้าผ่านระบบ e-learning แล้ว ควรนำหลักฐานการอบรมติดตัวไปด้วยเพื่อแสดงในวันยื่นเรื่อง สำหรับค่าธรรมเนียมในการต่อใบขับขี่แบบส่วนบุคคล 5 ปี จะอยู่ที่ประมาณ 505 บาท ซึ่งสามารถชำระได้ทั้งแบบเงินสด และผ่านบัตร หรือผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารในการโอนเงิน
ผู้ขับขี่จะต้องผ่านการตรวจสมรรถภาพร่างกายพื้นฐาน ซึ่งมีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน ประกอบด้วยการทดสอบการมองเห็นสี การมองเห็นในระยะลึก การตอบสนองต่อเสียง และการวัดลานสายตา โดยเจ้าหน้าที่จะมีเครื่องมือและคำแนะนำให้ทำตามอย่างละเอียด การทดสอบเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ขับขี่ยังมีสภาพร่างกายที่เหมาะสมต่อการขับขี่อย่างปลอดภัย
สำหรับใครที่อยากได้คิวเร็วและไม่ต้องรอนาน มีเคล็ดลับเล็กๆ มาฝาก คือ พยายามเข้าแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ในช่วงเช้ามืดระหว่าง 06.00 – 07.00 น. เพราะเป็นช่วงเวลาที่ระบบเพิ่งอัปเดตคิวใหม่ และมีโอกาสได้คิวว่างมากที่สุด อีกหนึ่งวิธีคือ เลือกสำนักงานขนส่งที่อยู่นอกเมืองหรือจังหวัดรอบข้างที่มีคนใช้บริการน้อย เช่น สำนักงานขนส่งในจังหวัดใกล้กรุงเทพฯ อย่างสมุทรสงคราม นนทบุรี หรือฉะเชิงเทรา ซึ่งมักจะมีคิวว่างมากว่าสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ
สุดท้ายแล้วหากพบว่าทุกคิวเต็มหมดจริงๆ เราสามารถลองติดต่อสำนักงานขนส่งโดยตรงเพื่อตรวจสอบว่าในวันนั้นมีโควตารับ Walk-in หรือไม่ เพราะบางแห่งยังคงเปิดรับผู้ที่มาแบบไม่ได้จองคิวไว้ล่วงหน้าอยู่ โดยเฉพาะในช่วงบ่ายที่อาจมีคนยกเลิกคิว หรือไม่มาในเวลานัดหมาย ทำให้มีช่องว่างสำหรับผู้ที่มาติดต่อทันที ทั้งนี้ ควรโทรสอบถามล่วงหน้าเพื่อความชัวร์ รายชื่อและเบอร์ติดต่อสำนักงานขนส่งทั่วประเทศสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ www.dlt.go.th
เพียงเท่านี้ การจองคิวใบขับขี่ก็ไม่ต้องรอนานอีกต่อไป แค่ใช้ช่องทางออนไลน์ให้เกิดประโยชน์ บวกกับการเตรียมเอกสาร และร่างกายให้พร้อม คุณก็จะได้ใบขับขี่ใหม่ไว้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยและถูกต้องตามกฎหมาย