บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นองค์กรธุรกิจชั้นนำ มีเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนใน 3 มิติ คือ ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และเศรษฐกิจหรือธรรมาภิบาล (Governance) ในบทความนี้จะมาเจาะลึก ดูรายละเอียดของผลงานด้าน "ธรรมาภิบาล(Governance)" ภายใต้หัวข้อต่างๆ ดังนี้
ประเด็นความสำคัญด้านธรรมาภิบาล ภายใต้หัวข้อ Corporate Governance & Ethics
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับ การกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยได้กำหนด นโยบายการกำกับดูแลกิจการ เป็นลายลักษณ์อักษรและเผยแพร่บน เว็บไซต์ของบริษัทฯ เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทฯ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนสามารถเข้าถึง เข้าใจ และนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัดจนกลายเป็น วัฒนธรรมองค์กร
โครงสร้างการบริหารจัดการของบริษัทฯ ถูกออกแบบให้มี ความชัดเจน โปร่งใส และเป็นระบบ โดยกำหนดให้คณะกรรมการบริษัทฯ มีการบริหารงานอย่าง เป็นระบบ มีความสมดุล และสามารถตรวจสอบได้ พร้อมแบ่งแยกบทบาทและความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายให้เป็นไปตามหลัก Three Lines of Defense เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการบริหารความเสี่ยงและการกำกับดูแลกิจการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
บริษัทฯ ได้จัดตั้ง คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการด้านความยั่งยืน ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ กำหนดกลยุทธ์ ออกแนวปฏิบัติ และขับเคลื่อนนโยบายและแผนงานด้านความยั่งยืน ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งติดตามและประเมินผลการดำเนินงานให้สอดคล้องกับแนวทางของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้แต่งตั้ง คณะทำงานด้านการพัฒนานโยบายและแผนงานด้านความยั่งยืน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ โดยมีบทบาทสำคัญในการ จัดทำนโยบายด้านความยั่งยืน รวบรวมแนวทางและแผนงานจากแต่ละสายงาน ประสานงาน และติดตามความคืบหน้า ก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ เพื่อพิจารณา และกำหนดทิศทางการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
บริษัทฯ ได้ดำเนินการ ยกระดับโครงการ Big Data เพื่อรวมข้อมูลสำคัญทั้งหมดในระบบงานและธุรกิจเข้าสู่ ศูนย์กลางข้อมูลเดียวกัน (Single Data Platform) ครอบคลุมทั้ง ระบบการขายและการให้บริการหลังการขาย โดยมีการกำหนดมาตรฐานการนำเข้าข้อมูลจากทุกระบบให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลมีความเป็นระบบ ข้อมูลมีคุณภาพสูง และสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั่วทั้งองค์กร
โครงการนี้ดำเนินการภายใต้ข้อกำหนดด้าน IT Security ตามหลัก Data Governance และเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) รวมถึงรองรับการจัดเก็บข้อมูลทั้ง Structured Data และUnstructured Data พร้อมระบบ Data Enrichment ที่ช่วยตรวจสอบและเพิ่มความถูกต้องของข้อมูลให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
เพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถเข้าถึงและใช้งานข้อมูลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบจะเชื่อมต่อกับ Data Visualization Tools ทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจาก แหล่งข้อมูลเดียวกัน (Single Source of Truth) ลดระยะเวลาในการค้นหาและจัดทำรายงาน ทั้งยังสามารถ ประมวลผลข้อมูลแบบเรียลไทม์ (Real-time Data Processing) ส่งผลให้การตัดสินใจทางธุรกิจมีความแม่นยำและรวดเร็วขึ้น การดำเนินโครงการ Big Data นี้ เป็นก้าวสำคัญในการเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่ Data-Driven Organization ที่สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ คาดการณ์ และวางกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน และเพิ่มความเชื่อมั่นในการใช้ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจในอนาคต
โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Collective Action Against Corruption - CAC) เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจในประเทศไทยดำเนินงานอย่าง โปร่งใส มีธรรมาภิบาล และปลอดจากการคอร์รัปชัน โดยองค์กรที่ได้รับรองจาก CAC ต้องผ่านกระบวนการประเมินและแสดงให้เห็นถึง ความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจที่ปราศจากการทุจริตอย่างแท้จริง
บริษัทฯ ได้รับ การรับรองจาก CAC อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการต่อต้านคอร์รัปชันและการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม โดยเราได้สื่อสาร นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน และ นโยบายการแจ้งเบาะแส ไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างต่อเนื่อง ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ของบริษัทฯ และรายงานประจำปี เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และคู่ค้าทุกฝ่ายได้รับทราบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริม ความร่วมมือกับคู่ค้า ในการประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ผ่านการเข้าร่วม โครงการ CAC Change Agent ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการขยายเครือข่ายธุรกิจที่โปร่งใส และร่วมกันยกระดับมาตรฐานธรรมาภิบาลในภาคธุรกิจให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น จากความมุ่งมั่นดังกล่าว บริษัทฯ สามารถผลักดันให้พันธมิตรทางธุรกิจเข้าร่วมโครงการ CAC ได้ถึง 12 ราย ส่งผลให้บริษัทฯ ได้รับการยกย่องและได้รับสถานะเป็น CAC Change Agent ซึ่งเป็นองค์กรต้นแบบที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนและส่งเสริมให้ภาคธุรกิจดำเนินกิจการอย่างมีจริยธรรม และปลอดจากการคอร์รัปชันอย่างเป็นรูปธรรม โดยบริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นที่จะขยายเครือข่ายพันธมิตรที่มีจรรยาบรรณ และส่งเสริมให้ธุรกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่เข้มแข็ง
ประเด็นสำคัญ | กิจกรรม | ตัวชี้วัดความสำเร็จ |
Corporate Governance & Ethics | มีการเชิญชวนคู่ค้าดีลเลอร์ และอู่ในเครือเข้าร่วมโครงการ CAC Change agent | สามารถเชิญคู่ค้า ดีลเลอร์ และอู่ในเครือเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์ กับ CAC Change Agent อย่างน้อย 10 ราย |
บริษัทฯ กำหนด นโยบายบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร โดยเชื่อมโยงกับ แผนกลยุทธ์และการจัดการเงินทุน เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมั่นคงและสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาตรการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ ครอบคลุมถึง การกำหนดดัชนีชี้วัดความเสี่ยง (Key Risk Indicators - KRI) การทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Testing) และ การบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risks Management) เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับแผนธุรกิจ
บริษัทฯ มีการติดตามผลการดำเนินงานและรายงานต่อ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและคณะกรรมการบริษัทฯ เป็นประจำทุกเดือน เพื่อให้มั่นใจว่ามาตรการบริหารความเสี่ยงสามารถดำเนินไปตามแผนงานที่กำหนด และสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้กำหนด ดัชนีชี้วัดความเสี่ยง ให้ครอบคลุมทุกประเภทความเสี่ยงและกิจกรรมทางธุรกิจ โดยตั้งเป้าหมายให้ รักษาเงินกองทุนไม่ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดที่ 140% พร้อมทั้งจัดทำ แผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน (Business Continuity Plan - BCP) เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง แม้ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับ การบริหารความเสี่ยงด้าน ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) โดยนำประเด็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องมาประเมินผลกระทบทั้งจาก ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ครอบคลุมด้านการกำกับดูแลกิจการ (Governance) ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social) และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental) ผลการประเมินนี้ช่วยให้บริษัทสามารถ จัดลำดับความสำคัญของประเด็น ESG และนำไปใช้กำหนดกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ โดยให้ความสำคัญกับปัจจัยที่ส่งผลกระทบสูงและมีโอกาสเกิดขึ้นสูงก่อน เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change), การบริหารห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) และ การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ (Business Transformation) พร้อมทั้งวางแนวทางเพื่อลดผลกระทบจากปัจจัยเหล่านี้ต่อองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ประเด็นสำคัญ | กิจกรรม | ตัวชี้วัดความสำเร็จ |
1.มีการบริหารความเสี่ยงครอบคลุมทุกกิจกรรมและมีการประเมินความมั่นคงทางการเงิน | จัดทำนโยบายการบริหารความเสี่ยงและการประเมินความมั่นคงทางการเงิน | 1.อัตราส่วนเงินกองทุนสูงกว่าที่ คปภ. กำหนด (>140%) โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2567 บริษัท ฯ มีอัตราส่วนเงินกองทุนอยู่ที่ระดับ 629% |
2.มีแผนรองรับการดำเนินธุรกิจครอบคลุมเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ | จัดทำแผนรองรับการดำเนินธุรกิจครอบคลุมเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และสอดคล้องกับแผนธุรกิจ | บริษัทฯ ดำเนินการทดสอบแผนBCPและระบบงานที่สำคัญได้อย่างครบถ้วน |
3.นำประเด็นความเสี่ยงที่สำคัญด้าน ESG เพื่อมาประเมินผลกระทบทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก | มีการระบุและ ประเมินความเสี่ยง ด้าน ESG ที่ส่งผลกระทบต่อ ธุรกิจ | บริษัทฯระบุประเด็นสำคัญทั้ง 3 มิติ และจัดลำดับความสำคัญตามระดับความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อบริษัท |
บริษัทฯ ได้นำ ซอฟต์แวร์เฉพาะทางด้านการคำนวณเงินสำรอง มาใช้ในการคำนวณเงินสำรองขององค์กร เพื่อให้กระบวนการประเมินมีความแม่นยำและเป็นมาตรฐาน นอกจากนี้ ผลการคำนวณสำรองประกันภัยยังได้รับการ รับรองความถูกต้องจากที่ปรึกษาระดับ Fellowship ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย
ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังมี แผนพัฒนานักคณิตศาสตร์ประกันภัยภายในองค์กรอย่างเป็นระบบ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรให้สามารถดำเนินการคำนวณและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ด้วยแนวทางดังกล่าว ทำให้มั่นใจได้ว่าการประเมิน เงินสำรองประกันภัยของบริษัทฯ เป็นไปอย่างแม่นยำ ถูกต้อง และสอดคล้องกับมาตรฐานทางบัญชีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
บริษัทฯ มุ่งเน้น การให้บริการที่เป็นเลิศ เพื่อสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า โดยนำ เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล มาประยุกต์ใช้ในการยกระดับประสบการณ์การบริการในทุกจุดสัมผัส ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานใหญ่ สาขา Meet & Care และจุดเกิดเหตุ เพื่อให้ลูกค้าได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว และตรงตามความต้องการ
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังพัฒนา นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ประกันภัย ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของลูกค้าในยุคดิจิทัล พร้อมเสริมความแข็งแกร่งของ แบรนด์ธนชาตประกันภัย ให้เป็นที่รู้จักและสร้างความผูกพันกับลูกค้าอย่างยั่งยืน โดยยึดหลัก เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้บริษัทฯ เป็นแบรนด์ที่ลูกค้ารัก เชื่อมั่น และภักดีต่อการใช้บริการด้านประกันภัยที่ตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างแท้จริง
ประเด็นสำคัญ | กิจกรรม | ตัวชี้วัดความสำเร็จ |
1.พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ลูกค้าสามารถ ทำเคลมได้ด้วยตนเอง | โครงการ Photo Claim | ลูกค้าเข้าร่วมโครงการ Photo Claim สูงกว่าเป้าหมาย |
2. Meet and Care | โครงการ Meet and Care | ลูกค้าเข้าร่วมโครงการ Meet and Care สูงกว่าเป้าหมาย |
3.การจัดการเรื่องร้องเรียน อู่/คู่ค้า | นโยบายการควบคุมและจัดการ /ข้อร้องเรียนเรื่องอู่/คู่ค้า | มีการควบคุมและจัดการ ข้อร้องเรียน เป็นไปตามเป้าหมายที่บริษัทกำหนด |
4.พรบ. Real Time | โครงการพรบ. Real Time | บริษัทฯ นำส่งข้อมูลพรบ. Real Time เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด |
ประเด็นสำคัญ | กิจกรรม | ตัวชี้วัดความสำเร็จ |
เพิ่มอัตราการต่ออายุ Motor renewal ratio | สร้างคุณค่าให้กับลูกค้าแต่ละกลุ่มโดยให้บริการที่ดีสอดคล้องกับพฤติกรรมและข้อมูลความต้องการของลูกค้า พัฒนางานต่ออายุจากการนำประสบการณ์ของลูกค้ามาประยุกต์ใช้ เพิ่มความเชื่อมั่นพร้อมเสริมสร้างความภักดีให้แบรนด์ธนชาตประกันภัย | บริษัท ฯ ได้รับการต่ออายุสูงกว่าเป้าหมาย |
เพิ่มอัตราความพึงพอใจของลูกค้า | บริษัท ฯ ได้รับการประเมินความพึงพอใจสูงกว่าเป้าหมาย |
บริษัทฯ ได้รับ การรับรองมาตรฐาน ISO 27001 ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการบริหารจัดการ ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล (Information Security Management System - ISMS) โดยดำเนินงานภายใต้ หลักการสำคัญ 3 ประการ ได้แก่
เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐานสูงสุด บริษัทฯ ได้มีการตรวจสอบจากทั้ง ผู้ตรวจสอบภายใน (Internal Audit) และ ผู้ตรวจสอบภายนอก (External Audit) อย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งปฏิบัติตาม กฎหมาย ข้อกำหนด และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อให้การจัดการข้อมูลเป็นไปอย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
บริษัทฯ ได้เพิ่มการนำ ระบบดิจิทัล มาปรับใช้ใน ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เพื่อเสริมประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจและสนับสนุนให้คู่ค้าพัฒนาเทคโนโลยีให้สอดรับกับ ธุรกิจและบริการดิจิทัล ตัวอย่างการดำเนินงาน ได้แก่
การปรับใช้เทคโนโลยีในห่วงโซ่อุปทานนี้ช่วยให้บริษัทฯ และคู่ค้าสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดระยะเวลาการทำงาน เพิ่มความโปร่งใส และยกระดับประสบการณ์การให้บริการแก่ลูกค้า
ประเด็นสำคัญ | กิจกรรม | ตัวชี้วัดความสำเร็จ |
สนับสนุนคู่ค้า (อู่) ให้มีการ ใช้ระบบสำหรับอัพเดทสถานะการซ่อม | 1.สนับสนุนคู่ค้าที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับธุรกิจและการบริการแบบดิจิทัล | คู่ค้า (อู่) เข้าร่วมการใช้ระบบ กับบริษัท ฯและสามารถอัพเดทสถานะการซ่อม เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด |
2.สนับสนุนคู่ค้า (Broker) ให้มีการ Migrateกระบวนการแจ้งงานเป็น Digital | คู่ค้า (Broker) เข้าร่วมการใช้ระบบสำหรับการแจ้งงานเป็น Digital สูงกว่าเป้าหมาย | |
3.เพิ่มช่องทางการชำระเงินให้ลูกค้าหลากหลายช่องทาง | ขยายทางเลือกในการชำระเงินให้หลากหลายขึ้น เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ลูกค้าและรองรับไลฟ์สไตล์ยุคดิจิทัล | จัดให้มีช่องทางการชำระเบี้ยประกัน ภัย ช่องทาง Online ผ่านเว็บไซด์ ของบริษัท เช่น บัตรเครดิตทุกธนาคาร, Line Official Account เป็นต้น |
บริษัทฯ ได้กำหนด กรอบการบริหารการประกันภัยต่อ (Reinsurance Management Framework) ซึ่งได้รับการอนุมัติจาก คณะกรรมการบริษัทโดยมีการวางแผนการประกันภัยต่อให้ สอดคล้องกับกลยุทธ์และแผนธุรกิจ พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการบริหารความเสี่ยงสำหรับแต่ละประเภทของผลิตภัณฑ์ประกันภัยอย่างเหมาะสม
ในการคัดเลือกบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ บริษัทฯ ใช้ หลักเกณฑ์ที่เข้มงวด โดยพิจารณาจาก อันดับความน่าเชื่อถือระดับสูงจากบริษัทจัดอันดับเครดิตชั้นนำ เพื่อให้มั่นใจในความมั่นคงทางการเงินของคู่ค้า นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมี กระบวนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของบริษัทประกันภัยต่ออย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่า หากเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ บริษัทประกันภัยต่อจะยังคงมี ความสามารถในการชำระคืนสินไหม และสามารถรองรับภาระความรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บริษัทฯ มุ่งมั่นสนับสนุน การลงทุนที่ยั่งยืน โดยมี แผนการลงทุนในธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการเติบโตของผลกำไรควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล (ESG) เพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบและยั่งยืน
แนวทางการลงทุนของบริษัทฯ ครอบคลุมการลงทุนในสินทรัพย์ที่สอดคล้องกับหลัก ESG เช่น
การลงทุนในสินทรัพย์ที่คำนึงถึง ESG ไม่เพียงช่วยสร้างผลตอบแทนที่มั่นคง แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืน และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว
ประเด็นสำคัญ | กิจกรรม | ตัวชี้วัดความสำเร็จ |
ส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจที่มีการดำเนินงานอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงสังคมสิ่งแวดล้อมและธรรมาภิบาล (ESG) | บริษัท ฯมีการลงทุนในธุรกิจที่มีการดำเนินงานอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล (ESG) | บริษัท ฯ มีการลงทุนในธุรกิจที่มีการดำเนินงานอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล(ESG) สูงกว่าเป้าหมาย |